วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สาระน่ารู้ กับ ก๋วยเตี๋ยว










ก๋วยเตี๋ยว? จัดเป็น ?ฟาสฟู๊ด? หรือ อาหารจานด่วนของไทยๆ ประเภทหนึ่ง
เพราะใช้เวลาปรุงและกินไม่นาน มิหนำซ้ำยังเป็นอาหารที่คนไทยนิยมกินกันมาโดยตลอด และหากินได้ง่าย...
มีขายทั่วทุกหนทุกแห่ง ราคาไม่แพงจนเกินไป มีให้เลือกมากมายหลายรสหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ บะหมี่ มีทั้งน้ำ แห้ง ต้มยำ ราดหน้า เย็นตาโฟ ฯลฯ
...จุดโดดเด่นของก๋วยเตี๋ยวที่นักโภชนาการยกย่อง คือ เป็นอาหารจานเดียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการเกือบครบ 5 หมู่ เริ่มตั้งแต่
เส้นก๋วยเตี๋ยวทุกประเภทจัดอยู่ในอาหารประเภทข้าว แป้งที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
ส่วนลูกชิ้น หมูสับ หรือเนื้อวัว เนื้อปลาเครื่องในสัตว์ เป็นอาหารที่ให้สารอาหารโปรตีนที่ร่างกายนำไปสร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ในก๋วยเตี๋ยวน้ำหรือแห้งอย่างน้อยก็มีต้นหอม ผักชีโรยพอได้กลิ่น ไม่พอต่อการที่จะได้ชื่อว่าได้กินผัก แต่ถ้าหากใส่ถั่วงอก หรือตำลึง ผักบุ้ง หรือคะน้า เราจะได้กินผักมากขึ้น ซึ่งเป็นอาหารที่ให้วิตามิน และแร่ธาตุที่ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ และสร้างภูมิคุ้มกันโรค
อาหารหมู่สุดท้ายที่ได้จากก๋วยเตี๋ยว คือ ไขมันที่ปรุงจากกระเทียมเจียว หรือไขมันจากสัตว์ ยิ่งถ้าเป็นผัดไทย หรือผัดซีอิ้ว จะมีปริมาณไขมันสูงมากทีเดียว

....หลังกินก๋วยเตี๋ยวไม่ว่าจะกิน 1 หรือ 2 ชาม ถ้าหากเรากินส้มสัก 1 ผล หรือมะละกอสุก 6 ? 7 คำ ตาม เพียงแค่นี้ก็ถือได้ว่ากินอาหารครบ 5 หมู่ แต่มีบางคนร้องสั่งก๋วยเตี๋ยวดังลั่นร้านว่า ?เล็กน้ำไม่งอก? หรือ สั่งราดหน้ามาแต่เขี่ยผักคะน้าไว้ขอบจานไม่กิน นั่นแสดงว่าคนเหล่านั้น พลาด โอกาสที่จะได้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ไปอย่างน่าเสียดาย
การกินก๋วยเตี๋ยวแบบมืออาชีพจริงๆ คือ เมื่อผู้ขายเอาชามก๋วยเตี๋ยวมาวางตรงหน้า สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ชิมก่อน ถ้ารสชาติพอดีปาก พอดีลิ้น ก็ไม่มีความจำเป็นอื่นใดที่จะต้องไปปรุง รสใหม่ให้เสียรส ซึ่งส่วนมากคนขายจะปรุงรสกลาง ๆ และอร่อยพอดีอยู่แล้ว คนกินก๋วยเตี๋ยวส่วนมาก มักจะเติมเครื่องปรุงทุกชนิดที่วางขวางหน้า ไม่ได้ชิมก่อน ปรุงเสร็จกินไปคำแรกบ่นออกมาว่า ก๋วยเตี๋ยวร้านนี้ไม่ได้เรื่อง นักโภชนาการอย่างผู้เขียน จะพยายามไม่เติมเครื่องปรุงรสใดๆ หลังจากชิมแล้ว เพราะไม่ค่อยติดใจในรสชาติที่จัดจ้านมากนัก และมั่นใจฝีมือคนปรุง โดยเฉพาะร้านที่เรากินประจำ แต่ที่สำคัญคือไม่อยากเสี่ยงต่อการได้รับสิ่งที่อาจเป็นพิษ หรืออันตรายต่อร่างกาย เช่น ไม่เติมน้ำปลา เพราะไม่ต้องกินรสเค็ม ซึ่งรู้ว่ารสเดิมนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไม่เติมน้ำส้ม เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นน้ำส้มสายชูแท้หรือไม่ แต่ถ้าต้องการรสเปรี้ยวขอมะนาวแม่ค้า ไม่เติมน้ำตาล เพราะไม่ชอบรสหวานในอาหารคาว และรู้ว่ากินน้ำตาลมากไปทำให้อ้วน และที่ไม่เติมถั่วลิสงป่น และพริกป่น เพราะกลัวเชื้อราอัลฟาท๊อกซินที่เป็นสารก่อมะเร็ง ในที่สุด ก็กินก๋วยเตี๋ยวแบบที่แม่ค้าปรุงให้เสียส่วนมาก นอกจากบางเจ้าที่รสชาติรับไม่ได้ จริงๆ จึงจะปรุงบางรส แต่มีน้อยครั้งมาก

อาชีพอิสระ เลี้ยงปลานิล


  










 ปลา เป็นอาหารในชีวิตประจำวันของชาวไทย และเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย เป็นอย่างมาก และที่สำคัญการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้อง ใช้ทุนมากแรงงานก็สามารถใช้แรงงานยามว่าง ของชาวไร่ชาวนาเองได้
          ประวัติความเป็นมาของการเลี้ยงปลานิล 
      ปลานิล เป็นปลาที่นำมาจากต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2508 พระเจ้าจักรพรรดิ อากิฮิโต ซึ่งขณะดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยเลี้ยงในบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อหาเฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายปลานิลด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบหมายให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
เนื่องจากคุณสมบัติของปลานิลเป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัมและมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์สืบต่อไป

          รูปร่างและลักษณะนิสัย
      ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง (อยู่ในตระกูล Cichlidac) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา เนื่องจากปลาชนิดนี้เลี้ยงง่าย สามารถกินพืชและอาหารได้เกือบทุกชนิด รวมทั้งเศษอาหารต่าง ๆ สามารถแพร่ขยายพันธ์ได้ในสภาวะทั่ว ๆ ไปและเติบโตเร็ว นอกจากนี้ ปลานิลยังเป็นปลาที่มีรสดี สามารถนำมาเป็นอาหารได้หลายอย่าง และมีคนนิยมไปทำตากแห้งแบบปลาสลิดได้ ปัจจุบันปลานิลเป็นปลาที่นิยมบริโภคในหมู่ประชาชนทั่วไป
      ปลานิลมีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ ลักษณะพิเศษของปลานิลนั้น มีริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน มีเกล็ด 4 แถวตรงบริเวณแก้ม และจะมีลายพาดขวางลำตัวประมาณ 9 - 10 แถว มีนิสัยชอบอาศัยอยู่รวมกัน เป็นฝูงตามแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ เป็นปลาที่อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทน และสามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย เหมาะสมที่จะน้ำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี
     ในประเทศไทยพบปลานิลสีเหลืองขาว - ส้ม ซึ่งเป็นการกลายพันธ์จากปลานิลสีปกติ หรือเป็นการผสมข้ามพันธ์ระหว่าง ปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้อง ยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อ และสีของปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายปลากะพงแดง ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานในต่างประเทศ มีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า "ปลานิลแดง"

           การแพร่ขยายพันธุ์และการเจริญเติบโต
           1. การแพร่ขยายพันธุ์
              1 ) ลักษณะเพศ ตามปกติแล้วรูปร่างลักษณะภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จะสังเกตได้โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวาร ตัวผู้จะมีอวัยวะเพศลักษณะเรียวยื่นออกมา ส่วนตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ขนาดของปลาที่ดูลักษณะเพศได้ชัดเจนนั้น ต้องมีขนาดยาวตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป ในกรณีที่ปลามีขนาดโตเต็มที่แล้วนั้น อาจจะสังเกตเพศได้ด้วยการดูสีที่ลำตัว เพราะปลาตัวผู้จะมีสีเข้มตรงบริเวณใต้คางและลำตัว ต่างกับปลาตัวเมีย และยิ่งใกล้ฤดูใกล้ผสมพันธุ์ สีก็จะเข้มยิ่งขึ้น

             2 ) การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด ในบ่อเลี้ยงจึงควรมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ เช่น ไร่น้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อน ของแมลง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ควรให้อาหารสมทบด้วย เพื่อเป็นการเร่งให้พันธุ์แม่พันธุ์พร้อมที่จะทำการเพาะพันธุ์ได้ในเวลาที่เร็วขึ้น
            3 ) การผสมพันธุ์และการวางไข่ ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง
            พ่อแม่ปลานิลที่มีขนาดยาว 10 เซนติเมตร และมีอายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป เป็นปลาโตได้ขนาดพร้อมที่จะสืบพันธุ์ หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสมแล้ว ปลาตัวผู้ก็จะแยกตัวออกจากฝูงแล้วเริ่มสร้างรัง โดยเลือกเอาบริเวณชานบ่อตื้น ๆ ซึ่งมีระดับน้ำลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร วิธีการสร้างรังนั้นปลาจะปักหัวลงในระดับตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากกับการเคลื่อนไหวของลำตัวเขี่ยดินตะกอนออก โดยวิธีอมเอาดินตะกอนและเศษสิ่งของต่าง ๆ ในบริเวณนั้นไปทิ้งนอกรัง จะทำเช่นนี้อยู่เรื่อยไปจนกว่าจะได้รังซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมที่มีขนาดตามความต้องการ หากมีปลาอื่นอยู่ในแถบนั้นด้วย ปลานิลตัวผู้ก็จะพยายามขับไล่ให้ออกไปนอกบริเวณ ตัวมันเองจะคอยว่ายวนเวียนอยู่ในรัศมี 2-3 เมตรรอบ ๆ รัง และจะแผ่ครีบหลังอ้าปากกว้างอยู่ตลอดเวลา อาการเช่นนี้เป็นการเชิญชวนให้ตัวเมียซึ่งว่ายเข้ามาใกล้ ให้เข้ามายังรังที่ได้สร้างไว้ ปลาตัวเมียก็จะว่ายผ่านรังของปลาตัวผู้เตรียมไว้ถึง 3 รังก็มี
            เมื่อต่างได้คู่แล้วก็จับคู่เคียงกันไป และจะใช้ทางดีดผัดผันแว้งกัดกันเบา ๆ หลังจากเคล้าเคลียในลักษณะ เช่นนี้ครู่หนึ่งแล้ว ปลาก็จะผสมพันธุ์ โดยตัวผู้จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นและเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ปลาตัวเมียจะวางไข่ออกมาครั้งละ 10 หรือ 12 ฟอง ในขณะเดียวกันปลาตัวผู้ก็จะว่ายคลอคู่เคียงกันไป พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่นั้น ทำอยู่เช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์จะแล้วเสร็จ ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วปลาตัวเมียจะเก็บไว้ฟัก โดยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปาก แล้วว่ายออกจากรังไปยังบริเวณก้นบ่อที่ลึกกว่า ส่วนตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเวียนว่ายไปเคล้าเคลียกับตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป

            4 ) การฟักไข่ แม่ปลานิลจะอมไข่ไว้ในปากเป็นเวลา 4-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักออกเป็นตัว ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติซึ่งติดอยู่ที่ท้อง ขณะเดียวกันแม่ปลายังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไป จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไป หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณ 3-4 วัน แม่ปลาก็จะคายลูกปลาให้ว่ายออกมาจากปาก ลูกปลาในระยะนี้สามารถกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำเล็ก ๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำ โดยจะว่ายวนเวียนอยู่ที่บริเวณหัวของแม่ปลา และจะเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อต้องการหลบหลีกอันตราย โดยลูกปลาจะเข้าทางปากหรือช่องเหงือก หลังจากลูกปลามีอายุ 1 สัปดาห์ จึงจะเลิกหลบเข้าไปซ่อนในช่องปากของแม่ แต่แม่ปลาก็ยังคอยระวังศัตรูให้ โดยว่ายวนเวียนอยู่ใกล้บริเวณที่ลูกปลาหาอาหารกินอยู่ แต่แม่ปลานิลจะรู้จักวิธีหาอาหารกินได้เองเมื่อมีอายุได้ 3 สัปดาห์ และมักจะว่ายกินอาหารรวมกันเป็นฝูง
การแพร่ขยายพันธุ์ของปลานิลนั้น ปริมาณไข่ที่แม่ปลาวางแต่ละครั้งจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาและฤดูกาล โดยประมาณแล้วปลานิลตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละ 50-600 ฟอง แม่ปลาที่เริ่มวางไข่ครั้งแรกจะให้ลูกปลาจำนวนไม่มากนัก ปริมาณไข่ของแม่ปลาจะเพิ่มมากตามขนาดของแม่ปลาที่เจริญวัยขึ้น แม่ปลาตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ทุกระยะ 2-3 เดือนต่อครั้ง ถ้าหากบ่อเลี้ยงปลามีสภาพดีและมีการให้อาหารพอเพียงในเวลา 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ประมาณ 3-4 ครั้ง

            5) การปล่อยปลาลงเลี้ยง
             (1) จำนวนปลาที่ปล่อย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้เร็ว ดังนั้น จำนวน
ปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในบ่อครั้งแรกจึงไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มากนัก สำหรับบ่อขนาดพื้นที่ 1 งาน (400 ตารางเมตร) ควรใช้พ่อแม่ปลานิลเพียง 50 คู่ หรือถ้าเป็นลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กก็ควรปล่อยเพียง 400 ตัว หรือ 1 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร
             (2) เวลาปล่อยปลา เวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับปล่อยปลาควรเป็นเวลาเช้าหรือเย็น เพราะระยะเวลาดังกล่าวอุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนเกินไป ก่อนที่จะปล่อยปลาควรเอาน้ำในบ่อใส่ปนลงไปในภาชนะที่บรรจุปลาแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ปลาคุ้นกับน้ำใหม่เสียก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ จุ่มปากภาชนะที่บรรจุปลานิลลงบนผิวน้ำ พร้อมกับตะแคงภาชนะปล่อยให้ปลาแหวกว่ายออกไปช้า ๆ

             6) การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงปลานิลในบ่อแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการเลี้ยงดังนี้
            (1) การเลี้ยงปลานิลแบบเดียว โดยปล่อยลูกปลาขนาดเท่ากันลงเลี้ยงพร้อมกัน ใช้เวลาเลี้ยง 6-12 เดือน แล้ววิดจับทั้งบ่อ
            (2) การเลี้ยงปลานิลหลายรุ่นในบ่อเดียวกัน โดยใช้อวนจับปลาขนาดใหญ่ คัดเฉพาะขนาดปลาที่ตลาดต้องการจำหน่าย ปล่อยให้ปลาขนาดเล็กเจริญเติบโตต่อไป
            (3) การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาจีน ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์จากอาหาร หรือเลี้ยงร่วมกับปลากินเนื้อ เพื่อกำจัดลูกปลาที่ไม่ต้องการ ขณะเดียวกันจะได้ปลากินเนื้อเป็นผลพลอยได้ เช่น การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลากราย และการเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อน
            (4) การเลี้ยงปลานิลแบบแยกเพศ คือ การเลี้ยงปลานิลเพศเดียวกันในบ่อเพื่อ
ป้องกันการแพร่พันธุ์ ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาเพศผู้ ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเพศเมีย

             7) การให้อาหาร
ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด จึงเป็นปลาที่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะพวกอาหาร
ธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในบ่อ ตลอดจนสาหร่ายและแหน ถ้าต้องการให้ปลาโตเร็วควรให้อาหารสมทบ เช่น รำ ปลายข้าว กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากมะพร้าว แหนเป็ดและปลาป่น เป็นต้น การให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้ปริมาณมากจนเกินไป ควรกะให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของปลาเท่านั้น ส่วนมากควรเป็นน้ำหนักราวร้อยละ 5 ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้อาหารมากเกินไปปลาจะกินไม่หมด เสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายแก่ปลาได้

          2. การเจริญเติบโต
          ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักถึง 500 กรัม(ครึ่ง กิโลกรัม) และเป็นปลาที่แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว พ่อแม่ปลาซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ เมื่อปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะเริ่มวางไข่ได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ชุดนี้จะเริ่มวางไข่ต่อไปอีกเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 เดือน
ด้วยเหตุที่ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะปล่อยให้จำนวนของปลา
ในบ่อมีปริมาณมากจนเกินไป หากพบว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ควรจะจับลูกปลาแบ่งออกไปเลี้ยงยังบ่ออื่นบ้าง เพราะถ้าปล่อยให้อยู่กันอย่างหนาแน่น ปลาก็จะไม่เจริญเติบโตและจะทำให้อัตราการแพร่พันธุ์ลดน้อยลงอีกด้วย

        คุณลักษณะของปลานิล
           ปลานิล เป็นปลาที่มีเนื้อมากและมีรสดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ต้ม แกง ตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับเนื้อปลาช่อน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิด ปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อมหรือปลาส้ม และยังนำมาประกอบเป็นอาหาร แบบอื่นได้อีกหลากหลายชนิด นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้วปลานิลยังมีคุณลักษณะอีกหลายประการ ดังนี้

          1. เลี้ยงง่าย มีคำกล่าวว่า "คนจนก็เลี้ยงปลานิลได้"            เพราะสามารถเลี้ยงโดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารที่กินทุนอย่างการเลี้ยงปลาดุกและปลาช่อน แม้จะต้องทยอยขาย และราคาไม่แพง ผู้เลี้ยงจะไม่เดือดร้อนเวลาราคาตกต่ำ การเลี้ยงปลานิลโดยใช้ต้นทุนต่ำที่สุด โดยการทำให้น้ำในบ่อมีอาหารธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีการใส่ปุ๋ยแก่บ่อ ทำให้เกิดแพลงก์ตอนหรือไรน้ำ ถ้าเกษตรกรขยันทำปุ๋ยหมักใช้เองหรือเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปก็จะประหยัดอาหารได้มาก
          2. หาพันธุ์ได้ง่าย พันธุ์ปลานิลนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายจากบ่อเลี้ยงปลากินพืชทั่วไปแล้ว เกษตรกรยังสามารถเพาะพันธุ์ปลานิลได้เองโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ ในกรณีที่เกษตรมีบ่อเลี้ยงปลาจำนวนน้อยบ่อ อาจรวมกลุ่มกันเพาะพันธุ์ปลานิล แล้วแบ่งลูกปลาไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ต่อไป
          3. อดทน ปลานิลมีความอดทนมาก ไม่ค่อยเป็นโรคร้ายแรง สามารถอดทนอยู่ในบ่อปลาที่มีอาหารธรรมชาติจำนวนมาก จนมีน้ำสีเขียวจัด(น้ำเสีย) ได้ เกษตรกรจึงใช้น้ำทิ้งจากบ่อประหลาดุกมาเลี้ยงปลานิล ของเสียที่ปนอยู่ในน้ำก็เหมือนปุ๋ยที่ใส่ลงเพาะไรน้ำ ถ้าจัดให้มีบ่อเลี้ยงปลานิลรับน้ำที่ระบายจากบ่อประหลาดุกก็สามารถผลิตปลานิลได้โดยแทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มเลย
          4. การผสมพันธุ์ ปลานิลผสมพันธุ์เก่ง ผลิตลูกปลาได้เร็วจนแน่นบ่อ นอกจากสามารถนำเอาความรู้เรื่องธรรมชาติการผสมพันธุ์ของปลานิลไปใช้ในการเพาะพันธุ์ลูกปลาเป็นอาชีพแล้ว การปล่อยปลาบู่ ปลาช่อน หรือกุ้งก้ามกรามลงในบ่อปลานิลได้ช่วยกันกินลูกปลาให้น้อยลงบ้าง กลายมาเป็นผลผลิตปลาบู่ ปลาช่อนและกุ้ง ซึ่งราคาต่างกันมาก พอลูกปลาลดลงแล้วพ่อแม่ปลานิลก็เร่งผลิตลูกปลามาชดเชยอีก
          5. โตเร็ว ปลานิลมีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ยในเวลา 1 ปี ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี

การเจริญเติบโตของปลานิล
อายุปลา(เดือน)
ความยาว(เซนติเมตร)
น้ำหนัก(กรัม)
3
10
30
6
20
200
9
25
350
12
30
500
           6. ไม่ทำลายกันเอง ปลานิลไม่กินลูกของตัวเอง ลูกปลาจึงมีอัตราการอดตายจากการ
สืบพันธุ์แบบธรรมชาติจำนวนมาก ในกรณีที่ไม่มีศัตรูอื่นรบกวน
          7. มีตลาดจำหน่าย เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่ประชาชนทั่วไปนิยมบริโภคจึงทำให้เป็นที่
ต้องการของตลาดทั่วไป
           8. เลี้ยงร่วมกับปลาประเภทอื่นได้ โดยมีสูตรการเลี้ยงหลายสูตร คือ
                 1) ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาไน สูตรนี้เหมาะสมมากสำหรับพื้นที่ที่มีน้ำจำกัด
เช่น นาข้าว เพราะปลาทั้ง 3 ชนิดเป็นปลาตัวเล็ก ใช้ระยะเวลาเลี้ยงไม่นาน (ประมาณ 3-5 เดือน) จะได้ขนาดที่ตลาดนิยมบริโภคแล้ว

อัตราการปล่อย
ปริมาณลูกปลาทั้งหมดไม่ควรเกิน2,000 ตัว/ไร่
ปลาตะเพียน500-700 ตัว/ไร่
ปลานิล500 ตัว/ไร่
ปลาไน100 ตัว/ไร่
                  2) เลี้ยงปลาดุกและปลานิล ปลาดุกเป็นปลากินเนื้อที่ให้ราคาดี ถ้าเลี้ยงปลาดุกเพียงอย่างเดียว จะสิ้นเปลืองค่าอาหารมาก ฉะนั้นเมื่อเลี้ยงร่วมกับปลานิล ปลาดุกจะคอยเก็บกินลูกปลานิล เป็นการลดต้นทุน

อัตราการปล่อย
ปลานิล1,000 ตัว/ไร่ โดยประมาณ
ปลาดุก70-100 ตัว/ไร่
                     ข้อพึงระวัง
                             เนื่องจากปลาดุกเป็นปลากินเนื้อ ฉะนั้นจะต้องปล่อยปลานิลก่อนเลี้ยงให้โตพอได้ขนาดที่ปล่อย จึงจะปล่อยปลาดุกตามไปทีหลังหรือจะปล่อยพร้อมกันไปเลยก็ได้ โดยปล่อยปลากินเนื้อตัวเล็ก ปลากินพืชตัวใหญ่

                 3) เลี้ยงปลานิล หรือปลาตะเพียน เป็นหลัก
                 ถ้ายึดปลานิลเป็นหลัก ก็ต้องลดปลาตะเพียนลง หากยึดปลาตะเพียนก็ลดปลานิลลง แล้วเลี้ยงปลาอื่นเสริม การเลี้ยงแบบนี้น้ำต้องอุดมสมบูรณ์หรือเลี้ยงในนาข้าวที่ควบคุมระดับน้ำได้ ระยะเวลาเลี้ยง 8-12 เดือน

อัตราการปล่อย
ปลานิล
ถ้าเป็นหลัก
1,000
เป็นรอง
500
ตัว/ไร่
ปลาตะเพียน
ถ้าเป็นหลัก
700
เป็นรอง
500
ตัว/ไร่
ปลาไน
-
-
-
50
ตัว/ไร่
ปลานีน- เฉา
-
-
-
50
ตัว/ไร่
ปลานีน- เล่ง
-
-
-
50
ตัว/ไร่
ปลานีน- ซ่ง
-
-
-
25
ตัว/ไร่
ปลายี่สกเทศ
ถ้ามีวัชพืชมาก
100
มีน้อย
50
ตัว/ไร่
ปลาสวาย
-
-
-
30
ตัว/ไร่
ปลาดุก
-
-
-
100
ตัว/ไร่
                 ลำดับการปล่อย
                ปล่อยปลาเล็ก(ปลานิล ปลาตะเพียน หรือปลาไนด้วยก็ได้)ก่อนเลี้ยงจนโตขนาดที่ปลอดภัยจากปลาใหญ่เสียก่อน จึงปล่อยปลาใหญ่ (ปลาจีน ปลายี่สก ปลาดุก ปลาสวาย)ตามลงไป

" เงินทองคือมายา แต่ข้าวปลาเป็นของจริง "



 






 วันนี้ขอยกวลี ของ ม.จ.สิทธิพร กฤษดากร ผู้ซึ่งเป็นนักบุกเบิกพัฒนางานด้านเกษตรกรรมจนได้ชื่อว่าเป็น " บิดาของเกษตรแผนใหม่ "
       ทำไมถึงมีคำวลีคำๆนี้   " เงินทองคือมายา  แต่ข้าวปลาเป็นของจริง " หากเรานำว่าวินิจวิเคราะห์ให้ถ่องแท้แล้ว เปรียบเทียบกับสภาวะข้าวยากหมากแพง ตลาดขาดแคลนสินค้าประเภทน้ำมันพืชอยู่ขณะนี้ แถมมีการแย่งกันซื้อถึงขั้นลงไม้ลงมือ ชกต่อยกันบ้างก็มี
     สถานการณ์กำลังชี้ว่า ถึงคุณมีเงินทองที่จะสามารถชื้อได้ก็จริง แต่ว่าตอนนี้มันไม่มีขายหายากเป็นอย่างยิ่ง จนถึงเข้าขั้นต้องแบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ ตามอัตภาพ นี้ขนาดขาดแค่ น้ำมันในการใช้อุปโภคบริโภค หากว่าเป็นอาหารชนิดอื่น เช่น ข้าว ผัก ปลา ฯลฯ ไม่อยากจะนึกถึงว่ามันจะวุ่นวายขนาดใหน
    ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มแน่นอนปัญหาหนึ่งคือมาจากการจัดสรรน้ำมันปาล์มผิดพลาด ระหว่างการอุปโภคบริโภค กับ การนำมาใช้ในพลังงานทดแทน แทนที่จะให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนกลับไปส่งเสริมพลังงานทดแทนจนลืมว่า ผลผลิตยังไม่พอเพียงถึงขั้นไปใช้กับพลังงานทดแทน ผลสุดท้ายก็เกิดการขาดแคลนขึ้นมาที่เห็นๆกันอยู่
   อันที่จริงก็น่าจะโทษรัฐบาลอยู่หรอก เพราะเวลาชาวสวนนำผลผลิตปาล์มผลไปขาย เขาไม่สามารถทราบว่าโรงงานจะนำผลผลิตนี้ไปใช้เกี่ยวกับอุปโภคบริโภคหรือเกี่ยวกับพลังงานทดแทน โรงงานบีบน้ำมันสด นี้แหละตัวดีน่าจะรู้ แต่รัฐบาลก็ไม่มีมาตรการอะไรออกมาเพื่อบังคับกลุ่มโรงงานจะให้ขายสัดส่วนบริโภคเท่าไรพลังงานทดแทนเท่าไร ต้องมีมาตราการออกมาถึงจะควบคุมได้
    นี้แค่หนังตัวอย่าง ทำให้มองเห็นภาพชัดว่าแม้ว่าจะมีเงินทองมากมาย แต่หากเกิดการขาดแคลนอาหารขึ้นมาก็ไม่สามารถที่จะซื้อได้ แต่ที่เป็นของจริงคือ คุณต้องมีข้าว ปลา มีของกินอยู่ในมือ มีอาหารเลี้ยงตัวเองได้ ถึงจะสู้กับยุคข้าวยากหมากแพงได้
   ในสมัยก่อนประเทศไทยได้ชื่อว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " แต่ละครอบครัวมีนาข้าว ในนามีปลาให้กิน ไม่มีอดตายครับ ไม่มีเงินก็สามารถอยู่ได้ชั่วนาตาปี บรรพบุรุษเราทำให้เราเห็นแล้วว่าอยู่ได้จริงๆ
     แต่ว่าในปัจจุบันนี้ คนทิ้งท้องไร่ท้องนา มาทำงานโรงงาน ทำงานบริษัทจนลืมวิถีชีวิตแบบเก่า มาดิ้นร้นอยู่ในเมืองหลวง ตามยุคตามสมัย เคยมีนาย อวิน ทอฟเลอร์ ได้แบ่งคลื่นการพัฒนาเศรษฐกิจออกเป็น 3 ยุค เริ่มจาก เกษตรกรรม มายุคอุตสาหกรรม และยุคเทคโนโลยี่ ตามลำดับ
      ตอนนี้เรากำลังอยู่ยุคเทคโนโลยี่ เมื่อหมดยุคนี้แล้วจะกลับไปยุคเกษตรอีกหรือไม่ ดูได้จากการตื่นตัวค่อราคาพืชผลทางเกษตร ที่กำลังกลายเป็น ข้าวปลาคือของจริง เพราะว่ามีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ปาล์ม ข้าว อ้อย หรือสินค้าเกษตรชนิดอื่น จนคนจากภาคอุตสาหกรรมมุ่งกลับบ้านนอก ปลูกข้าว ยางพารา ปาล์ม อ้อย กันอย่างคึกคัก
   ไม่เว้น สองเจ้าสัวใหญ่อย่างเจ้าสัวธนินทร์ และเจ้าสัวเจริญ ที่เข้ามาจับธุรกิจเกษตรอย่างเป็นล่ำเป็นสัน กับการปลูกพืชพลังงานทดแทนทั้งปาล์มและยางพารา ทำให้เราเริ่มมองเห็นแล้วว่า ปัจจุบันนี้" เงินทองคือมายา  แต่ข้าวปลาคือของจริง " ที่กินเท่าไรก็ไม่หมดครับ
ขอบคุณภาพจากhttp://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3066&pid=301

คณะอุตสาหกรรมการเกษตร


คณะอุตสาหกรรมการเกษตร







 รายละเอียดของคณะ
เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยผู้ที่ศึกษาควรเป็นคนที่มีความรู้อย่างดีในสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สถิติและภาษา
 สาขาที่เปิดสอน
สาขาเทคโนโลยีการบรรจุ
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
สาขาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
สาขาวิศวกรรมอาหาร
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา มีความสนใจในด้านเทคโนโลยีการเกษตร
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะสามารถประกอบอาชีพเป็นผู้ควบคุมการผลิต ตรวจสอบคุณภาพการผลิตและการบรรจุหีบห่อตามโรงงานอุตสาหกรรมด้านอาหาร การหมัก อาหารสัตว์ เป็นต้น ประกอบอาชีพส่วนตัวผลิตอาหารออกมาจำหน่าย หรือรับราชการเป็นนักวิเคราะห์ วิจัย หรืออาจารย์
 สถาบันที่เปิดสอน

คณะสาธารณสุขศาสตร์


คณะสาธารณสุขศาสตร์




 รายละเอียดของคณะ
คณะสาธารณสุขศาสตร์มุ่งศึกษา ค้นคว้า วิจัย การบริการด้านสาธารณสุข โดยศึกษาทางด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทั่วไป บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข สามารถประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนางานสาธารณสุข ให้เกิดการป้องกัน การสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยแก่ประชาชนและสังคม
 สาขาที่เปิดสอน
สาขาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
สาขาวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล
สาขาการบริหารโรงพยาบาล
สาขาสุขศึกษา
สาขาโภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร
สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ
สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
สาขาอนามัยชุมชน
สาขาสร้างเสริมสุขภาพ
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านสาธารณสุขศาสตร์สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เป็นนักวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสาธารณสุข การควบคุมโรคต่างๆ นักวิชาการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นักวิชาการสุขศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกันนี้ในบริษัทเอกชนต่างๆ ในฐานะนักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักสุขาภิบาล หรือปฏิบัติงานในศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ เป็นอาจารย์ หรือครูสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ และยังสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย
 สถาบันที่เปิดสอน

คณะสัตวแพทยศาสตร์


คณะสัตวแพทยศาสตร์

โพส : วันที่ 12 ก.ค. 2555 เวลา : 5:31 น.
โหวต :  | เข้าชม : 3,921 ครั้ง
 รายละเอียดของคณะ
คณะสัตวแพทยศาสตร์มุ่งศึกษาในเรื่องทักษะและความรู้ในการดูแลสุขภาพสัตว์ การบำบัดรักษาโรคสัตว์ การป้องกันโรคสัตว์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านนี้จะต้องมีความรู้ความชำนาญและความสามารถในการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ สามารถวิเคราะห์ ชันสูตร วินิจฉัย ตลอดจนบำบัด รักษาและป้องกันโรคสัตว์ต่างๆ ได้ นอกจากนี้จะต้องรู้วิธีการเพิ่มผลผลิตปศุสัตว์ การขยายพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงและบำรุงพันธุ์สัตว์ ส่วนในด้านสาธารณสุขจะต้องควบคุมโรคสัตว์ที่อาจจะติดต่อถึงมนุษย์ได้ รวมทั้งสุขศาสตร์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ด้วย
 สาขาที่เปิดสอน
กายวิภาคศาสตร์
จุลชีววิทยา
สรีรวิทยา
เภสัชวิทยา
พยาธิวิทยา
ปรสิตวิทยา
เวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง
เวชศาสตร์คลินิกสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่า
เวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์
สัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์
สัตวบาล
สูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
ศัลยศาสตร์
อายุรศาสตร์
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และ/หรือเป็นไปตามระเบียบการสมัครสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านสัตวแพทยศาสตร์สามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น หน่วยงานของรัฐ คือ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนธุรกิจเอกชนบัณฑิตสามารถประกอบอาชีพในธุรกิจอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ และธุรกิจฟาร์มสัตว์ต่างๆ หรืออาจจะเปิดคลินิกรักษาสัตว์ส่วนตัวก็ได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยและพัฒนาทั้งในภาครัฐและเอกชนที่สัตวแพทยศาสตรบัณฑิตสามารถเข้าไปมีบทบาทอีกมากในอนาคต
 สถาบันที่เปิดสอน

คณะสหเวชศาสตร์ / เทคนิคการแพทย์


คณะสหเวชศาสตร์ / เทคนิคการแพทย์

โพส : วันที่ 12 ก.ค. 2555 เวลา : 5:31 น.
โหวต :  | เข้าชม : 5,253 ครั้ง
 รายละเอียดของคณะ
คณะสหเวชศาสตร์ หรือเทคนิคการแพทย์ มุ่งศึกษาวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในสาขาวิชาต่างๆ เช่น สาขาเทคนิคการแพทย์ มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ให้ถูกต้องและแม่นยำ สาขากายภาพบำบัด มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ผู้พิการด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด สาขารังสีเทคนิค มุ่งเน้นในการตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือทางรังสี และสาขากิจกรรมบำบัด มุ่งเน้นในการช่วยเหลือผู้ป่วยในการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านต่างๆ ด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด
 สาขาที่เปิดสอน
เทคนิคการแพทย์
กายภาพบำบัด
วิทยาศาสตร์การกีฬา
โภชนาการและการกำหนดอาหาร
รังสีเทคนิค
เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
การส่งเสริมสุขภาพ
วิทยาศาสตร์การแพทย์
ชีวเวชศาสตร์
กิจกรรมบำบัด
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีความพิการ ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ มีใจรักในการรักษาและให้การดูแลผู้ป่วย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความอดทน ขยัน
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลป์ได้ตามสาขาที่ สำเร็จการศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถรับราชการในโรงพยาบาลและหน่วยงานของรัฐหรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระได้ สามารถที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสายทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้หลายสาขา
 สถาบันที่เปิดสอน

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

โพส : วันที่ 12 ก.ค. 2555 เวลา : 5:30 น.
โหวต :  | เข้าชม : 11,288 ครั้ง
 รายละเอียดของคณะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการจัดการ เพื่อให้กระบวนการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมมีความทันสมัยสอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ พร้อมกับสืบสานและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่มีคุณค่าสำหรับมวลมนุษย์ หลักสูตรนี้ต้องการเตรียมความพร้อมทางวิชาการดังกล่าวแก่ผู้ที่จะพัฒนาตัวเองเป็นสถาปนิกต่อไป โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้ใฝ่รู้ พร้อมที่จะเรียนรู้ และพัฒนาตนเองด้วยปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม มีความคิดที่เชื่อมโยง ตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
 สาขาที่เปิดสอน
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
สาขาวิชาวางแผนภาคและเมือง
สาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม
สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
สาขาวิชาเคหการ
สาชาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
สาขาสถาปัตยกรรมไทย
สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
บัณฑิตที่จบหลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย โดยใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนมาจากหลักสูตรนี้ อาชีพที่เกี่ยวข้องได้แก่ 
                1. งานวิชาชีพสถาปนิก
                                1.1 รับราชการในหน่วยงานราชการต่างๆ
                                1.2 บริษัท ห้างร้าน เอกชน รัฐวิสาหกิจ
                                1.3 ประกอบวิชาชีพสถาปนิกอิสระ
                2. งานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น งานรับเหมาก่อสร้าง งานนิตยสารสถาปัตยกรรม  งานควบคุมดูแลอาคาร  อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย เป็นต้น
                3. งานอื่นๆ ที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ช่วยในงานนั้นๆ
 สถาบันที่เปิดสอน

คณะวิศวกรรมศาสตร์


คณะวิศวกรรมศาสตร์

โพส : วันที่ 12 ก.ค. 2555 เวลา : 5:30 น.
โหวต :  | เข้าชม : 6,991 ครั้ง
 รายละเอียดของคณะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อ การใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุโครงสร้างเครื่องจักรเครื่องมือระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้
 สาขาที่เปิดสอน
วิศวกรรมนาโน 
วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ 
วิศวกรรมอากาศยาน 
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมเรือ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมพอลิเมอร์
วิศวกรรมอาหาร
วิศวกรรมเซรามิก
วิศวกรรมแมคาทรอนิกส์
วิศวกรรมระบบควบคุม
วิศวกรรมนอกฝั่งทะเล
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมโทรคมนาคม
 คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์ มีความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี มีไหวพริบปฏิภาณดี ชอบการคิดคำนวณต่างๆ มีทักษะทางด้านช่าง มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
 แนวทางการประกอบอาชีพ แนวทางการเรียนต่อ
บัณฑิตที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สามารถทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานการพลังงานแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ หรือทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โรงงานยาสูบ หรือทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งยังศึกษาต่อปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและต่างประเทศได้ด้วย
 สถาบันที่เปิดสอน